ด้วงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู

1
10172

ด้วงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู

ด้วงสาคู / ด้วง งวงมะพร้าว /ด้วงไฟหรือ ด้วงลาน (ภาษาใต้ ) จัดว่าเป็นด้วง งวง ขนาดกลางพบได้ ทั่วไป ทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ เพื่อไม่ใช้สับสน ผมจะเรียกว่า ด้วงสาคู นะครับ  ด้วงสาคู ตัวเต็มวัยจะมีปีก สีน้ำตาลดำ อกจะมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัว ยาว ประมาณ 2.5-2.5 เซนติเมตร ปกตินั้น ด้วงสาคู ตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะภายนอกแทบจะเหมือนกัน แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันคือ

เยลลี่ผลไม้

  • ด้วงตัวผู้จะมีงวงที่สั้น กว่าตัวเมีย และจะมีขนที่ปลายงวงน
  • ด้วงตัวเมียจะมีงวงที่ยาวเลียว กว่าตัวผู้ไม่มีขนที่ปลายงวง

ด้วงสาคู จะชอบอากาศที่เป็นลักษณะร้อนชื้น ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย และจะมีมากในภาคใต้  ตัวอ่อน ด้วงสาคู อาศัย ได้ดีในต้น มะพร้าว ปาล์ม และต้นสาคู โดยปกติแล้วด้วงสาคู จะกินทั้งต้นใหม่และต้นที่ตายแล้ว บ้างครั้งก็จะเข้าไปกินรอยเดิม ที่ด้วงแรด กัดกินไว้ ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของพืชตะกูล ปาล์มเลยทีเดียว

ปกติตามธรรมชาติ ตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะใช้ระยะเวลา ในการวางไข่ประมาณ 5-8 สัปดาห์ เฉลี่ยประมาณ 400 ฟอง จะเห็นได้ว่า ตัวเมีย 1 ตัวสามารถใข่ได้จำนวนเยอะมาก ซึ่งเมื่อฝักออกมาแล้ว ตัวอ่อน ด้วงก็จะกัดกิน ต้นมะพร้าว ปาล์มหรือต้นสาคูที่ตัวเมียไข่ไว้ จนเป็นโพรงและทำให้ต้นมะพร้าว ปาล์มหรือต้นสาคู ตายในที่สุด อย่างไรก็ดี ด้วงสาคูก็กลายมาเป็นแมลงที่กินได้และเป็นแมลงที่สร้างรายได้ให้กับ เกษตรในเวลาต่อมา เพราะมีรสชาติอร่อย และสามารถเลี้ยงได้ง่าย และใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

อย่างไรก็ตามด้วงสาคู ก็กลายมาเป็นสัตว์เศรฐกิจตัวใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น เพราะมีรสชาติที่อร่อย และ มีคุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนสูงไม่แพ้ โปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยทีเดียว และยังสามารถนำไปประกอบ อาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น ทอด คั่วเกลือ หมก แกง หรือผัด เรียกได้ว่า ทำได้สารพัดเมนู ไม่แพ้ เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆกันเลยทีเดียวนะครับ
ถ้าหากใครสนใจอยากลองเลี้ยงไว้เป็นอาชีพเสริมหรือเลี้ยงไว้รับประทาน

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่

  • Line : คลิ๊ก >>line.me/ti/p/%40saengmaneefarm
  • โทร 095-6461249 , 097-1140898
  • Fanpage : https://www.facebook.com/Saengmanee.beetlefarm/
  • Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCGB3wSeUseH7gi91qNeWI1w

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here